ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย (ครั้งที่ 2 : มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ระหว่างวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ 2567
ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ครั้งที่ 2 : สรุปผลคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ) ในวันที่ 19 กันยายน 2566
สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย (ครั้งที่ 1 : แนวเส้นทางเลือกของโครงการ)
ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย (ครั้งที่ 1 : แนวเส้นทางเลือกของโครงการ) ในวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566
สรุปผลการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ครั้งที่ 1 : ปฐมนิเทศโครงการ)
ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ครั้งที่ 1 : ปฐมนิเทศโครงการ) ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566
ประโยชน์ของโครงการ
1. สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล2. เป็นเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของภูมิภาค เช่น พัทยา ศรีราชา เมืองการบินอู่ตะเภา กับพื้นที่เมืองใหม่ และระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เช่น สถานีรถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา3. เกิดการพัฒนาที่ดิน เศรษฐกิจ ชุมชน ตามแนวเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะขนาดรองและบริเวณโดยรอบสถานี4. มีแผนงานโครงการร่วมกับหน่วยงานรัฐส่วนกลางและท้องถิ่น เพื่อการใช้ทรัพยากรและการจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการศึกษา
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันดังนี้งานส่วนที่ 1 งานวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งสาธารณะขนาดรองที่เชื่อมโยงการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งานส่วนที่ 2 งานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนงานส่วนที่ 3 การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)
ความเป็นมาโครงการ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ดำเนินการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และกำลังจัดทำแผนการพัฒนา “โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” และการพัฒนา “มหานครการบินภาคตะวันออก” (Aerotropolis) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย สู่การเป็น Thailand 4.0 สร้าง New S-Curve สร้างความเจริญ สร้างรายได้และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเป็นการพัฒนาที่มีผลต่อประชาชนอย่างทั่วถึง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง โดยคาดการณ์ว่าว่าจะทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคน และมีผู้ใช้บริการท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน ในปี 2580 ซึ่งทำให้ประชาชนในพื้นที่ ผู้ที่มาลงทุนและอยู่อาศัยใน EEC มีความต้องการเดินทางและขนส่งเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการวางแผนให้สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคต บูรณาการสอดคล้องไปกับการพัฒนาใน EEC สกพอ. จึงได้ดำเนินการ “ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกับการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงไปยังระบบคมนาคมขนส่งหลักของพื้นที่ EEC คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และเมืองใหม่ EEC ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว […]